วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ท่าเสด็จ ตลาดอินโดจีน ริมแม่น้ำโขง


ท่าเสด็จ ตลาดอินโดจีน ริมแม่น้ำโขง


ไม่ว่าจะเดินทางไปท่องเที่ยวณจังหวัดไหน เราก็ต้องหาซื้อของกิน ของฝาก ซึ่งปัจจุบันการหาซื้อของฝาก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เพราะมีทั้งศูนย์โอท็อป และศูนย์การค้าขนาดใหญ่ รวบรวมสินค้าเอาไว้ให้เราเลือกมากมาย แต่ถ้าจะให้คลาสสิคบุกถึงถิ่นสุดๆ ก็ต้องไปหาซื้อกันในตลาดใหญ่ๆ ในพื้นที่ ครั้งนี้เราอยู่กันที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งใครๆ ก็รู้กันดีว่า แหล่งช็อปปิ้งระดับจังหวัดที่ทุกคนต้องแวะมาละลายทรัพย์กันก็คือ “ตลาดท่าเสด็จ” ดังนั้นเราจึงต้องเอาทรัพย์ในกระเป๋ามาแลกเป็นของฝากกับเค้าบ้าง เดี๋ยวจะหาว่ามาไม่ถึง




“ตลาดท่าเสด็จ” “ตลาดท่าเรือ” หรือ“ตลาดอินโดจีน” ไม่ ว่าจะชื่อไหนก็ล้วนแล้วแต่เป็นชื่อที่ใช้เรียกขานของตลาดขนาดใหญ่ริมแม่น้ำ โขงในเขตเทศบาลเมืองหนองคายเหมือนกันซึ่งที่มาของชื่อตลาดก็ตั้งกันตาม ลักษณะของตลาดนี่แหละครับ อย่างชื่อแรกที่เรียกกันว่า “ตลาดอินโดจีน” ก็เป็นเพราะ ตลาดแห่งนี้เป็นศูนย์รวมสินค้าจากหลากหลายประเทศในแถบอินโดจีนไม่ว่าจะเป็น ไทยลาว เวียดนาม จีนฯลฯส่วนที่มาของอีกสองชื่อก็เริ่มมาจาก ในอดีตก่อนที่จะมีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย– ลาวท่าเรือของตลาดสินค้าอินโดจีนริมแม่น้ำโขงแห่งนี้เคยถูกใช้เป็นจุดผ่าน แดนถาวรสำหรับผู้ที่ต้องการจะเดินทางไปมาระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) บริเวณนี้จึงมีเรือข้ามฟากสัญจรไปมาระหว่างสองฝั่งแม่น้ำโขงอย่างคึกคักคน ท้องถิ่นจึงนิยมเรียกชื่อตลาดแห่งนี้ในอีกชื่อหนึ่งว่า“ตลาดท่าเรือ” ต่อมาในปี พ.ศ.2498 ได้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” พร้อมด้วย “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ” ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมเยียนราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดหนองคายและ ได้เสด็จฯขึ้นจากเรือพระที่นั่งณท่าเรือของตลาดสินค้าอินโดจีนแห่งนี้ภาย หลัง “ตลาดท่าเรือ” จึงได้ถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็น “ตลาดท่าเสด็จ” และเรียกติดปากกันมาจนปัจจุบัน



ประเภทของสินค้าที่มีจำหน่ายอยู่ในตลาดท่าเสด็จนี้ก็หลากหลายไม่แพ้ที่ ไหนๆเริ่มกันตั้งแต่ข้าวของเครื่องใช้ธรรมดาๆ เครื่องไฟฟ้า ของเด็กเล่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับผ้าทอมือเครื่องครัว เครื่องกระเบื้อง ของแต่งบ้าน เครื่องมือช่าง ขนมขบเคี้ยว ของแห้ง ผลไม้สดผลไม้แห้งแม้กระทั่งอาหารปรุงสำเร็จก็มีให้เลือกซื้ออีกสารพัด ส่วนของฝากขึ้นชื่อที่เราแนะนำว่าไม่ควรพลาดซื้อติดมือกลับบ้านไปก็คือ หมูยอ กุนเชียง และไส้กรอกอีสาน ซึ่งก็มีให้เลือกหลายร้าน เราสามารถเลือกชิมและต่อรองราคากันได้ ถูกใจร้านไหนก็ซื้อหากันได้เต็มที่ ส่วนพื้นที่ช่วงตอนกลางๆ ของตลาดท่าเสด็จ จะมีร้านจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดหนองคายในพระบรมราชินูปถัมภ์ “ณ ตลาดท่าเรือ” ตั้งอยู่ นอกจากสินค้าเกรดพรีเมี่ยมที่คัดสรรกันมาให้เลือกซื้อหาแล้ว บริเวณนี้ยังเป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญที่บรรดานักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปกับ ป้ายพญานาคสองเศียรไว้เป็นที่ระลึก ถ้าเดินช๊อปกันมาเหนื่อยๆ ก็แวะพักดื่มน้ำดื่มท่า จิบกาแฟกันได้ ทั้งทิวทัศน์ริมแม่น้ำโขงที่สวยงาม และมุมถ่ายภาพเก๋ๆ ที่ทางร้านจัดเตรียมไว้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ทำเลบริเวณนี้จะคึกคักเป็นพิเศษ

สำหรับนักท่องเที่ยวที่หมายมั่นจะมาช็อปปิ้งให้หนำใจ สินค้าในตลาดท่าเสด็จก็มีให้เลือกมากมายสมใจอยู่ แต่คุณภาพและราคาจะถูกอกถูกใจแค่ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับความชำนาญในการเลือก ซื้อ รวมถึงศิลปะในการต่อรองราคาซึ่งเป็นเทคนิคส่วนบุคคล แต่ถ้าใครไม่ได้หวังว่าจะมาละลายทรัพย์ที่ตลาดแห่งนี้ แค่แวะมาเยี่ยมชม แล้วถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกับป้ายพญานาคและป้ายตลาดท่าเรืออีกหน่อย แค่นี้ก็เอารูปไปอวดได้เก๋ๆ ละจ้า




ที่อยู่ : ถนนมีชัย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
GPS : 17.885534, 102.747499
เวลาทำการ : ทุกวันตั้งแต่เวลา 7.00 – 18.30
ช่วงเวลาแนะนำ : ตลอดทั้งวัน
ไฮไลท์ : ของฝากของเมืองหนองคายจำพวก หมูยอ กุนเชียง และไส้กรอกอีสาน รวมถึง สินค้าราคาถูกทั้งเสิ้อผ้า ของใช้ ขนม และอาหารแห้ง จากประเทศในแถบอินโดจีน
กิจกรรม : ช็อปปิ้งสินค้า ของฝากราคาถูก / ถ่ายภาพ


วิธีการเดินทาง
จากบริเวณน้ำพุพญานาคกลางเมืองหนองคายให้ใช้เส้นทางถนนประจักษ์ศิลปาคม มุ่งหน้าไปทางศาลากลางจังหวัดจากนั้นให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนหายโศกบริเวณหน้า ศาลากลางจังหวัดแล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนมีชัย ตรงไปอีกประมาณ 400 เมตร ก็จะถึงทางเข้าตลาดท่าเสด็จอยู่ทางด้านซ้ายมือ (ท่าเข้าตลาดมีหลายทาง) นักท่องเที่ยวสามารถหาที่จอดรถได้ที่ในที่ทำการไปรษณีย์ วัดศรีษะเกษ วัดศรีคุณเมือง หรือตามจุดรับฝากรถต่างๆ ได้

สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด หนองคาย


*** ศาลาแก้วกู่ สร้างโดยปรารถนาให้ที่แห่งนี้เป็น เมืองอมตะแก้วกู่มหานิพพาน หรือดินแดนแห่งการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง เชื่อว่า ทุกศาสนาผสมผสานกันได้ ...ตั้งอยู่ ชุมชนสามัคคี อ.เมือง จ.หนองคาย ในพื้นที่ 42 ไร่ รูปปั้น ทั้งเล็กใหญ่แล้วว่ากันว่ามีไม่น้อยกว่าหลักพัน
*** ศาลาแก้วกู่สร้างขึ้นโดย “ปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์” หรือ “ปู่เหลือ” ( พ.ศ. 2476 – 2539 ) ซึ่งมีประวัติชีวิตและผลงานอัศจรรย์ โดยย่อ ดังนี้ นางคำปลิว สุรีรัตน์ (พี่สาวคนโตของปู่เหลือ) ชาวหนองคาย แต่งงานได้ระยะหนึ่ง ฝันว่ามีชีปะขาวนำ นาคมรกตมามอบให้ แต่บอกว่าอีก 7 เดือนค่อยไปรับมาเป็นของตน ต่อมาแม่ตั้งท้องลูกคนที่เจ็ด ในวัยสูงอายุและหมดประจำเดือนแล้ว และคลอดเมื่ออายุครรภ์ได้ 7 เดือน ทุกคนจึงเชื่อว่าเป็นไปตามนิมิตในฝัน นางคำปลิวและสามี จึงรับน้องชายมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ตั้งแต่แรกเกิด

....ด.ช.บุญเหลือชอบเข้าวัดมาแต่เด็ก พออายุได้หกขวบนางคำปลิวเสียชีวิตลง สามีนางคำปลิวมีภรรยาใหม่ ด.ช.บุญเหลือจึงกลับไปอยู่กับ พ่อแม่ผู้ให้กำเนิด แต่มักขัดขวางห้ามปรามผู้ใหญ่ในทางบาปต่างๆ จึงไม่เป็นที่รักใคร่ของญาติพี่น้อง ครั้นอายุ 12 ปี ทนความกดดัน รอบข้างไม่ไหว จึงหนีออกจากบ้านรอนแรม ไปจนพบสำนักอาศรมแก้วกู่ในเขตแดนลาว และได้ฝากตัวศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติธรรมอยู่กับ พระมุนีที่นั่น จนอายุครบ 20 ปี พระมุนีจึงให้ออกจากสำนัก ไปจาริกแสวงบุญโปรดญาติโยมทั้งใกล้และไกล เมื่ออายุ 30 ปี จึงได้กลับมาปรนนิบัติตอบแทนคุณในวาระสุดท้ายของชีวิตพ่อแม่ ก่อนแม่สิ้นบุญในปี 2507 ได้มอบที่ดิน 8 ไร่ ณ บ้านเชียงควาน เมืองท่าเดื่อ เวียงจันท์ ไว้เป็นมรดก

...ปี พ.ศ. 2513 ปู่เหลือได้พัฒนาที่ดินดังกล่าวสร้างเป็น “ปูชนียสถานเทวาลัยอย่างมหึมา” พุทธศาสนิกชนทั้งในภาคพื้นยุโรป และเอเชียเลื่อมใสมาก แต่เมื่อเกิดเหตุวิกฤตในราชอาณาจักรลาวเมื่อปี พ.ศ. 2518 หลวงปู่จึงพาลูกศิษย์ข้ามโขงมา และรวมกันจัดตั้งเป็น “พุทธมามกสมาคมจังหวัดหนองคาย” โดยกรมการศาสนารับรองให้ในปี พ.ศ. 2519

... ปี พ.ศ. 2521 สานุศิษย์ได้จัดซื้อที่ดินราว 41 ไร่ ในเขตบ้านสามัคคี ต.หาดคำ ถวายให้เป็นที่ตั้งสำนักจวบจนปัจจุบัน ต้นปี พ.ศ.2527 ปู่เหลือถูกใส่ความ และมีผู้ไปแจ้งตำรวจตั้งข้อหาฉกรรจ์ (ซึ่งทางสำนักขอสงวนไว้) ต้องอยู่ในเรือนจำจนถึง ปลายปี 2529 เมื่อออกมาแล้วก็สร้างเทวรูป อีกมากมาย ทั้งเล็กและใหญ่ และทั้งขนาดที่สูงถึง 33 เมตร เมื่อสร้างทั้งพุทธรูปและเทวรูปถึง 209 ปางแล้ว ก็สร้างศาลาแก้วกู่หลังใหม่ โดยรื้อหลังเก่า (พ.ศ.2523 – 2538) ที่ทรุดโทรมลง ขณะก่อสร้างศาลาหลังใหม่ ปู่เหลือก็ล้มป่วย และต่อมาได้เสียชีวิตลงในเดือนสิงหาคม 2539 สานุศิษย์ได้นำผอบ (ผะ-อบ) แก้วใส่ร่างของท่านไว้ ตามความประสงค์ก่อนสิ้นชีวิต”

ปู่เหลือ เป็น...นักพรต ผู้ทรงศีล ถือศีล เคร่งวิปัสสนา ...สั่งสานุศิษย์ว่า เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว อย่าฉีดยา อย่าเผา อย่าฝัง ให้ใส่ผอบแก้วไว้ ... ด้วยอัศจรรย์ ร่างไม่ได้เปื่อยเน่า และสานุศิษย์บอกว่า เส้นผมของปู่เหลือ จะเป็นสีดำ และเป็นสีขาว สลับสับเปลี่ยน แบบนี้อยู่เรื่อยๆ (ดำก็ดำล้วน ขาวก็ขาวล้วน) ..วันที่ผมไปศาลาแก้วกู่ เป็นวันที่ 26 ต.ค. 2550 (ปู่เหลือสิ้นมาแล้ว ประมาณ 10 ปี) เส้นผมที่ได้เห็นในร่างสงบ ในผอบแก้ว(ไม่ใช่โรงเย็น เป็นผอบครอบแก้วธรรมดา) เป็นเส้นผมสีดำ
...ร่างปู่เหลืออยู่ภายในอาคารชั้นที่ 3 ของศาลาแก้วกู่ ซึ่งในแต่ละชั้นมีพระพุทธรูป เก่าแก่ต่างๆ ซึ่งนำมาจากฝั่งลาว เมื่อย้ายที่มาตั้งที่หนองคาย

...ชั้น 3 ของอาคารศาลาแก้วกู่ ไหว้ ปู่ เหลือ นักพรตผู้บำเพ็ญเพียร ความดี ก่อตั้งศาลาแก้วกู่ อุทยานเทวาลัย ให้ศาสนายั่งยืน คงความศรัทธา เครื่องเตือนใจให้ ผู้คนสร้างคุณงาม ความดี

...ภาพถ่าย ถ่ายจากอาคารศาลาแก้วกู่ เห็นวิวมุมบนของ อุทยานเทวาลัย


...อีกมุมสวยๆ ในอุทยานเทวาลัย ศาลาแก้วกู่ สังเกตสุดทางเดิน สีแดงๆ เป็นเื้สื้อคน เปรียบเทียบให้เห็น ถึงขนาด และความอลังการ




...เทวาลัย ยิ่งใหญ่สุดอลังการ บริเวณด้านหน้า อาคาร ศาลาแก้วกู่






ศาลาแก้วกู่ ยิ่งใหญ่ อลังการ เหมือนเมือง อีกเมืองหนึ่ง ที่ตื่นตาตื่นใจ และให้ความรู้ด้านศาสนา และการทำความดี มีเทวาลัยมากมาย และกำลังก่อสร้าง เพิ่ม อยู่เรื่อยๆ



เทวาลัยปางนี้ คือ พระเจ้าสิทธัตถะ ได้ เสด็จหนีทิ้งราชสมบัติเวียงวัง จนถึงแม่น้ำอโนมานะที พระองค์จึงทรงอธิษฐานตัดเกษพระโมลี ณ ที่ ฝั่งแม่น้ำอโนมานะที เสร็จแล้วพระองค์ จึงได้ตั้งสัจจะอธิษฐาน เสี่ยงพระโมลีว่า ถ้าจะได้ตรัสรู้ เป็นพระโพธิญาณ สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ขอให้ พระเกษลอยขึ้นฟ้าเบื้องบน เมื่อนั้นท่านท้าวสักกะเทวราช ได้ถือผะอบมารองรับพระเกษของพระองค์หน่อพุทธังกูล จึงได้นำไปบรรจุที่พระธาตุ เกษแก้วจุฬมะณี ณ ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อเสร็จแล้ว พระองค์จึงได้ อธิษฐานบรรพชาเภท โดยมีท้าวฆะฏิการสุทธวาสพรหม ได้นำเครื่อง บริขาร 8 อัน เป็นธงชัยของพระอรหัตตผล มาถวาย ส่วนนายฉันนะ กับม้ากัณฐะกะ กลับสู่พระนคร ตามวรรณคดีของพระศาสนามาจนบัดนี้ ...คุณบุญชู วงษ์เจริญ จ.กาฬสินธ์ ออกศรัทธาสร้างปางนี้ อุทิศให้ พ่อจารย์ชม วงษ์เจริญ 19 เม.ย. 2521

เทวาลัยปางนี้ คือ เมื่อภายหลังพระสิทธัตถะ ได้อธิฐานบรรพชาแล้ว ก็ได้เสาะแสวงหา สันติธรรม อันประเสริฐ เรื่อยไปในที่สุดพระองค์ ก็ได้เข้าศึกษา ในสำนักของพระอาฬารดาบสกาลามโคตร ผู้ได้สำเร็จอกิญจัญญายตนะญาณ ในไม่ช้าพระองค์ก็ได้สำเร็จ จึงได้ลาอาจารย์ ไปศึกษาสำนักอื่นอีกคือ สำนักของพระอุทกรามบุตรดาบส ผู้ซึ่งได้สำเร็จ เนวสัญญานา ลัญญายตนะญาณ พระองค์ได้ศึกษาในไม่ช้าก็สำเร็จ ต่อจากนั้นพระองค์ ได้พิจารณาเห็นว่า แนวทาง ของพระอาจารย์ดาบสทั้งสองนั้น ยังไม่ใช่หนทางดับทุกข์ ดังนั้นพระองค์ จึงได้ลาอาจารย์ดาบสทั้งสอง ไปแสวงหาโมกขธรรม ด้วยพระองค์เอง ตามวรรณคดีของพระศาสนา มาจนบัดนี้ ... ร.ต.อ.ชุมพร ไวยาวัฒน์ อ.เมือง จ.หนองคาย ออกศรัทธาสร้าง 30 เม.ย. 2521

เทวาลัยปางนี้ คือ เมื่อพระสิทธัตถะได้ศึกษาในสำนักของดาบสทั้งสอง จนสิ้นภูมิธรรมของพระฤาษีแล้ว พระองค์จึงได้กราบลาอาจารย์ทั้งสอง เพื่อบำเพ็ญต่อไป โดยมีพระปัญจวัคคีย์คือ พระโกณทัณญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ พระอัสสชิ ได้ติดตามปรนนิบัติ อุปฐากพระองค์ และพระองค์ได้ทำความเพียรด้วยอาการต่างๆ เช่น กดฟันบนเพดานด้วยลิ้น กดจิตด้วยจิต ในที่สุด ก็ทรงอดอาหาร จนร่างกายซูบผอม ขนล่วงหลุด จากขุม เหลือเพียง หนังหุ้มกระดูกเท่านั้น ถึงแม้ว่าพระองค์ จะทำความเพียรอย่างแรงกล้า ก็ยังไม่สำเร็จ พระองค์ได้อดอาหารทรมานร่างกาย อยู่นานถึง 49 วัน ดังนั้นจึงร้อนถึงองค์อินทร์ ก็คือท้าวสักกะเทวราชจอมเทพทั้งหลาย จึงได้เสด็จลงมาดีดพิณสามสายให้ฟัง ดังนั้นพระองค์จึงได้สติ ยึดมัชฉิมเดินทางสายกลาง พระองค์จึงได้เลิกทำทุกกรกิริยา กลับมาเสวยอาหาร เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เมื่อปัญจวัคคีย์ทั้งห้าเห็นดังนั้น จึงได้พากันหนีจากพระองค์ โดยสำคัญว่า พระองค์เลิกความเพียรเสียแล้ว ตามวรรณคดีของพระศาสนา มาจนบัดนี้ ...ศาลาแก้วกู่ ร่วมกับนักบุญที่มาเที่ยว เป็นผู้ออกศรัทธาสร้าง เมื่อ 20 เม.ย. 2521

เทวาลัยปางนี้ คือ พระแม่สุชาดา ถวายข้าวมธุปายาสแก่พระโพธิสัตว์ องค์สรรพพัญญูก่อนตรัสรู้ คือหลังจากองค์พระบรมโพธิสัตว์ ได้ทรงเลิกบำเพ็ญทุกขกิริยหันมาเสวยอาหาร จนมีพลานามัยสมบูรณ์ดีแล้ว พระองค์จึงได้เจริญอานาปานุสติ กรรมฐาน เป็นที่ตั้ง จนถึงวันเพ็ญเดือน 6 (ก่อนตรัสรู้ 6 ปีพอดี) กาลครั้งนั้นได้มีพระแม่สุชาดาเศรษฐี ตำบลเสนานิคม ได้บนบานเทวดาอารักษ์ ต่อมา คำอธิษฐานนั้น ก็สมปรารถนาทุกประการ แม่พระสุชาดา จึงได้ทำพิธีหุงข้าวมธุปายาส เพื่อนำไปแก้บนแด่เทวดา ด้วยอุดมปุณมีดิถีฤกษ์ มหามงคลอรุณกาล ของวันเพ็ญแห่งวิสาขะมาส องค์พระบรมโพธิสัตว์ ได้ไปประทับพระอริยบถสำราญอยู่ที่ต้นไทร ซึ่งเป็นสถานที่ๆ พระแม่เจ้าสุชาดาได้บนบานเอาไว้ เมื่อได้เวลาแล้ว พระแม่สุชาดา พร้อมด้วยทาสีได้นำข้าวมธุปายาส ไปแก้บน ณ สถานที่นั้น ได้เห็น พระบรมโพธิสัตว์ คิดว่าเป็นเทวดา จึงได้นำข้าวมธุปายาส เข้าถวายแด่องค์พระบรมโพธิสัตว์ ตามวรรณคดีของพระศาสนา มาจนบัดนี้ ...พ่อใหญ่จ่อง อุดมชาลี จ.ร้อยเอ็ด ออกศรัทธาสร้าง 16 พ.ค. 2521

เทวาลัยปางนี้ คือ หนึ่งในปัญจเทวาแห่งฎีกานโมกถา ดังบาลีกล่าวว่า "อรหโตสักโกตถา" อรรถกถานี้ สักกะอัมรินทราธิราช ได้กล่าวสรรเสริญ สดุดี พระเกียรติ พระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า นับตั้งแต่วันปรมาภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ภายใต้โพธิบัลลังก์ ในราตรี วันเพ็ญเดือน6 ต้นพุทธกาล พระอินทร์องค์นี้ เป็นจอมเทพทั้งหลาย มีวิมานชื่อว่า "เวชยันต์" อยู่ในสวรรค์ดาวดึงส์ ทรงมีพระมเหสี 4 พระองค์ คือ 1.พระแม่สุธัมมา 2.พระแม่สุนันทา 3.พระแม่สุจิตตรา 4.พระแม่สุชาดา และยังมีช้าง "เอราวรรณ" เป็นพาหนะ ท้าวสักกะเทวราชองค์นี้ มีคุณประการ เป็นอันมากต่อพระศาสนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามอุปถัมป์อารักขาภิบาล พระพุทธองค์เปรียบดุจ สามเณรตามรับใช้ ภิกษุฉันใด ก็ฉันนั้น อีกประการหนึ่ง จัดว่าสำคัญยิ่ง ก่อนพุทธปรินิพพาน ท้าวสักกะอัมรินทราธิราช ได้ทูลอาราธนา พระศาสนาจากพุทธองค์ 1000 ปี ทั้งพระอานนท์ขอ 1000 ปี และจาตุมหาราชขอ 500 ปี รวม 2500 ปี ศิริรวมทั้งพุทธดำริ 2500 ปี ฉะนั้นในศาสนายุกาล ของพุทธองค์ทั้งหมด 5000 ปี นับว่าท้าวสักกะเทวราชองค์นี้ ได้มีจิตอนุเคราะห์ แก่มนุษย์และเทวดา อย่างมากมาย ตามวรรณคดีของพระศาสนา มาจนบัดนี้ ...เฒ่าแก่กิมอู๋ แม่เหง้า แซ่เอีย จ.หนองคาย ออกศรัทธาสร้าง 19 ก.พ. 2522



เทวาลัยปางนี้ คือ พระศาสดาห้ามพระญาติ เนื่องด้วยการทะเลาะวิวาทกัน ระหว่าง กษัตริย์โกลิยะวงศ์ และศากยะวงศ์ ไม่สามารถตกลงกันได้ การทะเลาะจาก ชนกลุ่มน้อย ลุกลามไปถึงชนกลุ่มใหญ่ กษัตริย์ทั้งสองนคร ต่างก็ยกทัพเข้าทำสงคราม พระศาสดาทรงทราบเหตุความ หายนะ มาสู่ประยูรญาติทรงจินตนาการว่า ถ้าตถาคตไม่ไปหมู่ญาติจักพินาศ จึงเสด็จไปโดยพระองค์เดียว ประทับนั่งอยู่บนรัตนบัลลังก์ กลางอากาศ หมู่ประยูรญาติเมื่อเห็น พระศาสดาจึงวางอาวุธถวายบังคม พระศาสดาตรัสถามว่า ทะเลาะกันเรื่องอะไรมหาบพิตร เมื่อสดับคำกราบทูนแล้ว เรื่องน้ำเป็นต้นเหตุแห่ง การบาดหมาง จึงมีพุทธฎีกาตรัสถาม น้ำกับกษัตริย์องค์หนึ่งๆ อย่างไหนมีค่ามาก พระญาติทูลตอบว่ากษัตริย์ดีกว่า พระเจ้าข้า ทุกอย่างก็สงบลง ตามวรรณคดีของพระศาสนา มาจนบัดนี้ ...คุณวินัย พุ่มจำปา(ผู้จัดการร้าน วินัยการยาง) จ.อุดรธานี ออกศรัทธาสร้าง 27 ก.ค. 2522 (เป็นพระประจำวันจันทร์)
เทวาลัยปางนี้ คือ พระอินทร์ พระพรหม พระยมกาฬ ในสามโลก แห่งสวรรค์ อนันตจักรวาล ได้มาอัญเชิญ พระบรมโพธิสัตว์ เวสสันดรเทพบุตร (ดุสิตเทพบุตร) สถิตอยู่ชั้น ดุสิตสวรรค์ พระองค์ได้เสวยสุข สี่พันปีทิพย์ (เท่ากับ ห้าร้อยเจ็ดสิบหก ล้านปี ของเมืองมนุษย์ เมื่อหมดอายุ เทพหมื่นโลกธาตุ แสนโกฏิมหาจักรวาล จึงได้มีการอัญเชิญ ลงไปจุติตรัสรู้ เป็นพระโคดมพุทธเจ้า) ในชมพูทวีป แห่งมงคลจักรวาล เมื่อได้รับอัญเชิญนิมนต์แล้วพระองค์ จึงพิจารณามหาปัญจโลกนะ 5 ประการ คือ 1.กาลอายุ 2.ทวีป 3.ประเทศ 4.ตระกูล 5.พุทธบิดาพุทธมารดา แล้วทั้งสวรรค์ อนันตจักรวาล ก็จัดขบวนแห่ พระโพธิสัตว์ลงจุติ ตามวรรณคดีของพระศาสนามาจนบัดนี้ ...คุณประสิทธิ์ คำผอง จ.สกลนคร ออกศรัทธาสร้างเพื่ออุทิศให้พี่ชาย คือ คุณสว่าง คำผอง ผู้ล่วงลับไปแล้ว 15 มี.ค. 2521


ทางเข้า เมืองกายะนคร สอนสัจธรรม - กงกรรม กงเกวียนหมุนเวียน สัตว์โลกทั้งหลายให้เป็นไปตามกรรม วิบากของตนสร้างเอาไว้ ... มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีทุกข์ มีสุข มีสรรเสริญ มีนินทา



นี่คือ เทวทูต ผู้ชี้ขาดให้การเกิด กัมมุนา วัฏฏะติโลโล สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม

มีกรรมเป็นเด็กไร้เดียงสา ยังไม่เห็นแสงธรรม จึงหมุนไปตามกงกรรมกงเกวียน

เทวาลัยปางนี้ คือ พระเทวธาตุ ตามธรรมโลกธาตุบัญญัติไว้ว่า "วาโยอสุรา" มีอสูรพิภพ โดยองค์สัมภวะธาตุ ได้มอบให้พระพราย และพระเพยลงมา ตั้งธาตุลม ในขณะที่สัมถวะธาตุ หรือประชุมธาตุ ตามวรรณคดีของโลกธาตุ หรือเมืองกายะนคร ...เฒ่าแก่กิมอู๋ แม่เหง้า แซ่เอีย จ.หนองคาย ออกศรัทธาสร้าง 1 เม.ย. 2522

..ในเมืองกายนะ จะมีเทวลัยทั้ง 4 พระผู้สร้างทั้ง ดินน้ำลมไฟ เทวลัยนี้คือตัวอย่างธาตุลม)

นี้คือพระกามเทพ เป็นผู้ชี้ขาด บงการสั่งงาน ให้พระยาจิตราช กระทำตามอำนาจกรรมเก่า กรรมใหม่ ให้ปรุงแต่งขึ้น ตามอำนาจกรรมดีกรรมชั่ว

หน้าพระยาจิตราช (หน้าทั้ง 3) 1.หน้าบุญ 2.หน้าบาป 3.หน้าไม่บุญไม่บาป


เทวาลัยปางนี้คือ พระเจ้าย่าทวดแอไค่ (พระอุมาหรือพระสันติ) เป็นพระบรมราชินีของนาคพิภพ ตามวรรณคดีของอิสานกล่าวว่า ตอนพระนางแอไค่ กับขุนเทือง รักสู่กัน อยู่ที่อุทยานสวนดอกไม้ จากนั้นพระนาง แอไค่ได้นำขุนเทือง ออกจากอุทยานสวนดอกไม้ ไปยังพิภพนาค ตามกฏมณเฑียรบาล ของนาคพิภพ แล้วมนุษย์กับนาคจะอยู่ร่วมกัน ไม่ดังนั้นพระนางแอไค่ จึงนำเอาขุนเทืองไปซ่อนไว้ในปรางปราสาท เขาพระสุเมรุ อันเป็นที่ตั้งของสวรรค์ ดาวดึงส์พิภพ พระนางแอไค่ได้พะเน้าพะนอสมสู่กับขุนเทืองนาน 7 ปี 7 เดือน 7 วัน จนทำให้พระนางแอไค่ลืมเหตุแห่งกาลของตน (กาลสงกรานต์) ดังนั้นดินฟ้าอากาศเกิด แห้งแล้ง จึงทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่วทั้งสามโลก จากนั้นพระนางแอไค่จึงได้สำนึกตน รู้ว่าพระนางทำผิดกฏมณเฑียรบาล ของสามโลก พระนางแอไค่ได้บอกความจริงต่อขุนเทือง แล้วพระนางแอไค่จึงลงมาเล่นน้ำ และยังสั่งขุนเทืองไว้ว่า อย่าได้เปิดหน้าต่างหรือเปิดประตู ดูตอนพระนางแอไค่เล่นน้ำ พอสั่งแล้วพระนางแอไค่พร้อมบริวาร ก็ได้แหนแห่ไปเล่นน้ำปฐพีเบื้องล่าง เสียงดังตุ้มๆ สะเทือนทั่วแดน ขุนเทืองท้าว ได้ยินเสียง แตกต่างเลยเปิดประตูหน้าต่างมามองดู จึงรู้ว่าพระนางแอไค่เมียตน เป็นนาคนาโค ตามวรรณคดี ของภาคอิสาน มาจนทุกวันนี้ ...ชาวสำนักพุทธมามกสมาคม และท่านผู้ใจบุญที่มาเที่ยว เป็นผู้ออกศรัทธาสร้างปางนี้

ในเว็บไซต์ ยังไม่ใช่เทวาลัยทั้งหมดนะครับ ยังมีเทวาลัยงดงามอีกมากมาย
ในบริเวณ อุทยานเทวาลัย ศาลาแก้วกู่
...การเดินทางครั้งนี้เรื่องมีอยู่ว่า ตั้งใจจะไปดูบั๊งไฟพญานาค (ออกพรรษา ปี 2550 ) จึง ขับรถไปถึงหนองคายแต่เช้า เพื่อหลีกเลี่ยงรถติด จึงแวะเที่ยว ศาลาแก้วกู่ ซึ่งเคยมานานมากแล้วสมัยเด็ก ..อยากกลับไปเก็บรายละเอียด เพื่อนำความประทับใจแบ่งปัน และเป็นข้อมูลในการท่องเที่ยวครับ ..ศาลาแก้วกู่ อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองหนองคายเลย ห่างเพียง 3 กม. ...อธิบายคร่าวๆคือ ถ้าเราตรงไปถึง จังหวัดหนองคาย เราจะไปสุดแค่นั้น เพราะหนองคายคือสุดแดนไทย ขั้นด้วยแม่น้ำโขง ตรงข้ามคือฝั่งลาว ..ถ้าเราจะไปเที่ยว เราก็กลับหลังหัน ออกจากเมืองหนองคาย ถ้าเลี้ยวซ้าย จะไปยังเส้นทางไปดูบั้งไฟพญานาคที่นิยมกัน คือ แถว อ. โพนพิสัย ..แต่ในเส้นทางนี้ ขับไปเพียง 3 กม. ก็เจอป้ายบอก ศาลาแก้วกู่ครับ อยู่ทางขวามือ ต้องไป ยูเทิร์นรถข้ามไปขวามือนิดหน่อย จะมีทางเข้าไป เข้าไปไม่เกิน 200 เมตร ก็ถึงแล้วครับ เห็นเทวาลัย ขนาดใหญ่ สวยงามยิ่งนัก
...วกกลับมาที่ตัวเมืองหนองคาย กลับหลังหัน แต่ไม่เลี้ยวซ้าย ..ถ้าเลี้ยวขวา จะไปสะพานมิตรภาพ ไทยลาว จุดข้ามแดนไปเที่ยว ประเทศลาวครับ ขับไปประมาณ 3-4 กม. ก็ถึงแล้ว ..ค่าทำบัตรผ่านแดน 100 บาท ใช้แค่รูป และบัตรประชาชน ถ้าไม่มีรูปก็ถ่ายที่นั่น เสียเพิ่มอีก 50 บาท ข้ามไปแล้ว มีรถตู้ให้เช่าพร้อมไกด์คนขับ พาทัวร์ ค่าเช่าทั้งหมดรวม 800 บาท รถตู้นั่งได้ 8-9 คน ถ้าจะเที่ยว ถ้าไปกันเยอะ ก็ได้หารกันถูกๆเองนะครับ เที่ยวเวียงจันทน์ได้ใน 1 วัน รายละเอียดของ ภาพท่องเที่ยว เวียงจันทน์ดูที่ http://laos-tours.blogspot.com ถ้ายังไม่เคย ลองไปดูนะครับ ไปง่า



วัดโพธิ์ชัย



เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ใตเขตเทศบาลเมือง เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านของชาวเมืองหนองคาย หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีลักษณะงดงาม ตามตำนานเล่าว่า พระธิดา 3 องค์ของกษัตริย์ล้านช้างได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์และขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามของตนเอง คือ พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลางและพระใสประจำน้องคนสุดท้อง เดิมประดิษฐานที่เวียงจันทน์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสามลงเรือข้ามฝั่งมายังเมืองหนองคาย แต่เกิดพายุพัดพระสุกจมน้ำหายไป ส่วนพระเสริมและพระใสได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่หนองคาย จนในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงได้อัญเชิญพระเสริมลงมาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ ส่วนพระใสยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ทุกปีในวันเพ็ญกลางเดือน 7 ชาวเมืองหนองคายจะมีงานประเพณีบุญบั้งไฟบูชาพระใสที่วัดโพธิ์ชัยเป็นประจำ

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
ที่จอดรถไม่มีที่จอดรถเฉพาะสำหรับคนพิการ แต่ที่จอดรถเป็นลานกว้างใกล้ทางเข้าพระอุโบสถ
ทางเดินทางเชื่อมทางเชื่อมกว้างเหมาะสม และเรียบไม่มีระดับ
บันไดความกว้างไม่น้อยกว่า1.5 เมตร มีราวจับ
ห้องส้วมจัดให้มีห้องส้วมไว้เฉพาะ 1 ห้อง ไม่แยกเพศ เข้าถึงได้สะดวก
ราวจับมีทั้งราวบันไดและในห้องส้วม
ป้ายสัญลักษณ์มีป้ายสัญลักษณ์บอกตำแหน่งห้องส้วมคนพิการและผู้สูงอายุ

แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org
วัดถ้ำศรีมงคล (วัดถ้ำดินเพียง)



มีสถานที่สำคัญซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัด คือ ถ้ำดินเพียงมีหลานคนได้เล่าขานกันมาว่าเป็นถ้ำที่พระธุดงค์ประเทศลาวเดินทางข้ามมาโดยไม่ได้ผ่านมาทางเรือแต่เป็นการเดินทางผ่านถ้ำนี้ซึ่งผู้ที่จะเห็นเส้นทางภายในถ้ำต้องเป็นผู้บำเพ็ญศีลภาวนา หรือพระอภิญญาลักษณะถ้ำดินเพียงนี้คล้ายเมืองบาดาลของพญานาคตามความเชื่อของชาวบ้านภายในถ้ำจะมีความชื้นและมีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีก้อนหินเป็นแท่งตั้งวางอย่างจงใจบางก้อนเป้นโลงศพ มีส่วนเว้าโค้งของหินภายในถ้ำที่สวยงามการเดินทางเข้าชมถ้ำควรมีผู้เชี่ยวชาญนำเข้าไปเพราะถ้าไปเองอาจทำให้หลงทางและเป็นอันตรายได้

แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

วัดหินหมากเป้ง

                       

        ตั้งอยู่ที่บ้านไทยเจริญ ตำบลพระพุทธบาท การเดินทางจากตัวเมือง ใช้ทางหลวงหมายเลข 211 (หนองคาย-ศรีเชียงใหม่) ถึง กม. 64 ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2186 วัดจะอยู่ริมถนนด้านขวามือ รวมระยะทางจากตัวเมืองประมาณ 75 กิโลเมตร มีพื้นที่กว้างขวาง ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ บริเวณวัดโดยรอบสะอาด เรียบร้อยและเงียบสงบ มีพื้นที่ด้านหนึ่งติดกับลำน้ำโขงซึ่งมองเห็นทัศนียภาพสวยงาม อาจารย์เทสก์ เทสรังสี เกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคอีสาน ได้ริเริ่มจัดตั้งให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของภิกษุสงฆ์ แม่ชี และผู้แสวงบุญทั้งหลาย หลังจากท่านมรณภาพ มีการก่อสร้างเจดีย์ เพื่อบรรจุอัฐิของท่าน ภายในมีรูปปั้นของอาจารย์เทสก์ พร้อมจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและชีวประวัติของท่านอีกด้วย

หาดจอมมณี




หาดจอมมณี อยู่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร ตามถนนเลียบแม่น้ำโขง เป็นหาดทรายริมแม่น้ำโขงที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ชายหาดมีความยาวประมาณ 200 เมตร ช่วงที่เหมาะในการไปเที่ยวคือเดือนเมษายน ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวในจังหวัดและจากบริเวณจังหวัดใกล้เคียง เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนเป็นจำนวนมาก จนได้รับการเรียกขานว่าเป็น “พัทยาอีสาน” อีกทั้งทิวทัศน์ในบริเวณหาดทราย ยังสามารถมองเห็นบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ได้อย่างชัดเจน
สถานที่ตั้ง:


หาดจอมมณี อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย

แผนที่จังหวัด หนองคาย


• หนองคายเป็นจังหวัดชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำโขงตรงข้ามกับท่าเดื่อของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีเนื้อที่ประมาณ 7,332 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป ทิศเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ทิศตะวันออกเป็นที่สูงและป่าโปร่ง ทิศตะวันตกเป็นภูเขาและป่า ติดต่อกันถึงเขตจังหวัดเลย ด้านทิศใต้เป็นที่สูง หนองคาย แบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ 4 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองหนองคาย บึงกาฬ โพนพิสัย ท่าบ่อ สังคม เซกา โซ่พิสัย ศรีเชียงใหม่ พรเจริญ ปากคาด บึงโขงหลง ศรีวิไล บุ่งคล้า กิ่งอำเภอสระใคร กิ่งอำเภอรัตนวาปี กิ่งอำเภอเฝ้าไร่ และกิ่งอำเภอโพธิ์ตาก
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดกับแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว
• ทิศใต้ ติดกับจังหวัดอุดรธานี สกลนคร
• ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครพนม
• ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเลย
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านสระบุรี แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย รวมระยะทาง 615 กิโลเมตร
• รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศไปหนองคาย ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 โทร. 936-2852-66 นอกจากนี้ ยังมีบริษัทเอกชนหลายแห่งที่บริการเดินรถไปจังหวัดหนองคาย เช่น 407 พัฒนา โทร.992-3475-8 ,(042) 411261 ชาญทัวร์ จำกัด โทร.618-7418,(042) 412195 บารมีทัวร์ โทร.537-8249,(042) 460345 เชิดชัยทัวร์ โทร.936-0253 ,(042) 461067
• รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ-หนองคาย ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1690, 223-7010, 223-7020
• เครื่องบิน นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางโดยเครื่องบิน สามารถไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี จากนั้นต่อรถเข้าจังหวัดหนองคายอีก 51 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตารางการบินได้ที่ บมจ.การบินไทย โทร. 1566, 280-0060,628-2000
ระยะทางจากตัวจังหวัดไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอท่าบ่อ 41 กิโลเมตร
อำเภอโพนพิสัย 45 กิโลเมตร
อำเภอบุ่งคล้า 45 กิโลเมตร
อำเภอศรีเชียงใหม่ 57 กิโลเมตร
อำเภอปากคาด 90 กิโลเมตร
อำเภอสังคม 95 กิโลเมตร
อำเภอโซ่พิสัย 120 กิโลเมตร
อำเภอบึงกาฬ 136 กิโลเมตร
อำเภอศรีวิไล 163 กิโลเมตร
อำเภอพรเจริญ 182 กิโลเมตร
อำเภอเซกา 224 กิโลเมตร
อำเภอบึงโขงหลง 238 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอสระใคร 27 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอรัตนวาปี 71 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเฝ้าไร่ 71 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอโพธิ์ตาก 77 กิโลเมตร
ระยะทางจากจังหวัดหนองคายไปยังจังหวัดใกล้เคียง
จังหวัดอุดรธานี 51 กิโลเมตร
จังหวัดเลย 202 กิโลเมตร
จังหวัดสกลนคร 210 กิโลเมตร
จังหวัดนครพนม 303 กิโลเมตร


แผนที่หนองคาย



แผนที่ตัวเมืองหนองคาย