วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมา






ประวัติความเป็นมาของจังหวัดหนองคาย

ใน ปี พ.ศ. 2369 สมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์กบฏ ไม่ยอมขึ้นกับไทยอีก และได้ยกกองทัพมากวาดต้อนผู้คนในเขตแดนไทยกลับไป ในการปราบกบฏดังกล่าว ท้าวสุวอธรรมาได้ยกทัพจากเมืองยโสธรมาช่วยกองทัพที่ยกไปจากกรุงเทพฯ จนสามารถมีชัยเหนือเจ้าอนุวงศ์และจับกุมตัวลงมากรุงเทพฯ ได้สำเร็จ รัชกาลที่ 3 จึงพระราชทาน บำเหน็จให้ท้าวสุวอธรรมาเลือกทำเลที่จะสร้างเมืองขึ้นรวม 4 แห่ง ซึ่งในที่สุดท้าวสุวอธรรมา ได้เลือกสร้างเมืองที่บ้านไผ่ เรียกชื่อว่าเมืองหนองคาย เมื่อ พ.ศ. 2370 พ.ศ. 2434 เมืองหนองคายได้เป็นสถานที่ตั้งมณฑลลาวพรวน จนกระทั่ง พ.ศ. 2436 จึงได้ย้ายไปตั้งที่ทำการมณฑลที่บ้านหมากแข้ง เนื่องจากได้เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ได้จัดตั้งมณฑลอุดรขึ้นที่บ้านหมากแข้ง เมืองหนองคาย จึงมีฐานะเป็นเมืองหนึ่งของมณฑลอุดร หลังจากยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลในปี พ.ศ. 2476 จังหวัดหนองคายซึ่งขึ้นกับ มณฑลอุดรได้แยกตัวออกมาเป็นจังหวัดหนองคายในปัจจุบัน จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับท่าเดื่อของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีพื้นที่ประมาณ 7,739.28 ตรกม.


ประเพณี วัฒนธรรม จังหวัดหนองคาย

                    บั้งไฟพญานาค

        


       ปรากฏการณ์ที่ต้องพิสูจน์กับตา เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ประชาชนเรือนแสนจากทั่วทุกสารทิศทั้งคน
ไทยและต่างชาติ ต่างมุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกัน นั่นคือ การรอชม "บั้งไฟพญานาค" ที่ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย
และ อีกหลายอำเภอที่มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง เพื่อรอชมลูกไฟสีแดงอมชมพูที่พุ่งขึ้นจากแม่น้ำโขง มีขนาดตั้งแต่หัวแม่มือถึงฟองไข่ไก่ ไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ไม่มีเสียง ไม่มีการตกลงมา ซึ่งแต่ก่อนตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายเมื่อร้อยกว่าปี ชาวหนองคายเรียกว่า "บั้งไฟผี"ส่วนชาวเวียงจันทน์ สปป.ลาว เรียก "ดอกไม้ไฟน้ำ" ความอัศจรรย์แห่งการเกิด "บั้งไฟพญานาค" สร้าง ความมหัศจรรย์ให้กับประชาชนทั้ง 2 ฝั่ง ไทย - ลาว ซึ่งมีความเชื่อและศรัทธาเหมือนกัน และยังสร้างความสงสัยให้เกิดขึ้นในสังคมเป็นวงกว้าง "บั้งไฟพญานาค"ลูก ไฟปริศนาที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ ซึ่งในทุกคืนวันออกพรรษาของทุกปี จะมีคนเดินทางไปรอชมปรากฏการณ์นี่ริมฝั่งโขงอย่างคับคั่ง เมื่อยิ่งสงสัย ก็ยิ่งอยากจะไปดูและพิสูจน์ให้เห็นกับตา ..... ณ วันนี้ เรื่องราวของ การเกิด "บั้งไฟพญานาค" ยังคงเป็นปริศนา ที่ยังไม่มีสิ่งใดชี้ชัดว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 นั้นเกิดขึ้นจากสิ่งใด แม้จะมีความเชื่อที่แตกต่างของผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะเป็น ชาวบ้านในท้องถิ่นเชื่อว่าเป็นเป็นบั้งไฟที่พญานาคจุดขึ้นมา เพื่อเป็นพุทธบูชาต่อพระพุทธเจ้า เนื่องในเทศกาลออกพรรษา หรือเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติเป็นผู้บรรจงสรรค์ สร้างขึ้น! หรืออาจจะเกิดจากน้ำมือของมนุษย์เป็นผู้ปั้นแต่งขึ้นหลอกลวงมนุษย์ด้วยกัน เอง!? ซึ่งนั่นคงไม่ใช่สิ่งสำคัญในการที่จะคุ้ยหาคำตอบ เพราะความคิด ความเชื่อ และศรัทธา ของผู้คนย่อมแตกต่างกัน แต่อีกมุมหนึ่งที่เกิดขึ้นและทุกคนทุกพื้นที่ต่างคิดเห็นและยอมรับเหมือนกัน นั่นก็คือ อานิสงส์ของพญานาคได้สร้างเม็ดเงินรายได้ให้กับชาวหนองคาย และชาวอีสานอีกหลายจังหวัดกันอย่างถ้วนทั่ว อันเกิดจาก "ปรากฏการณ์ของมหาชน" ที่แห่ไปชม"ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค" ตั้งแต่ โรงแรมหรูถึงโฮมสเตย์ยันศาลาวัด เป็นที่นอนได้หมด ว่ากันว่าปีนี้น่าจะมีคนมาชมบั้งไฟพญานาคที่จังหวัดหนองคายมากถึง 300,000-500,000 คน หรืออาจจะมีถึง 700,000 คน เพราะปีนี้มีเดือน 8 สองหน ทำให้วันออกพรรษาของไทย กับวันออกพรรษาของลาวไม่ตรงกัน จึงมีโอกาสเกิดบั้งไฟพญานาคขึ้นให้เห็นถึง 2 วัน คือวันที่ 28 และ 29 ต.ค. ซึ่งจำนวนคนน่าจะมีมาก พอๆ กับปี 2545 เพราะปีนั้นมีกระแสของภาพยนตร์เรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11 และกระแสการนำเสนอข่าวของโทรทัศน์ช่องหนึ่งเกี่ยวกับการเกิดบั้งไฟพญานาค โหมกระหน่ำให้คนเดินทางไปดูกันอย่างเนืองแน่น กลุ่มธุรกิจที่ให้บริการที่พักคือกลุ่มที่ได้รับอานิสงส์เรื่องเม็ดเงินแบบ เต็มๆ ไม่ว่าจะเป็น รีสอร์ท เกสต์เฮ้าส์ บังกะโล ถูกจองที่พักกันข้ามปี ทั้งยังมีการเปิดศาลากลางจังหวัด และที่ว่าการอำเภอแต่ละแห่ง จนถึง อบต.โรงเรียน ศาลาวัด ให้นักท่องเที่ยวสามารถกางเต้นท์นอนได้ กระนั้นที่พักก็ยังไม่เพียงพอกับจำนวนนักท่องเที่ยว ส่งผลให้เกิดที่พักแบบโฮมสเตย์ไว้รองรับนักท่องเที่ยวอีก 26 หมู่บ้าน ซึ่งล้วนแต่เป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำโขง ที่สามารถชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคได้
งานนมัสการพระธาตุบังพวน





           
       งาน นมัสการพระธาตุบังพวน เริ่มในวันขึ้น 11 ค่ำ เดือนยี่ หรือเดือนสองของไทยเป็นต้นไป มีชาวบ้านจากท้องถิ่นและจากที่อื่น มานมัสการพระธาตุกันพอสมควร งานบวงสรวงอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ

     "เป็น การบวงสรวงเพื่อ " รำลึก " ถึงคุณงามความดีของเหล่าทหารและผู้ที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ในการ ปราบกบฎ " ฮ่อ " ถือเป็นงานประจำปีของจังหวัดของจังหวัดไปด้วย เริ่มงานในต้นเดือนมีนาคมของทุกปี ประมาณวันที่ 5 เป็นต้นไป มีการออกร้านของหน่วยงานราชการและเอกชน และการจัดจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและสินค้าราคาถูก


ประเพณีสงกรานต์

ประเพณี สงกรานต์ของจังหวัดหนองคาย จัดในช่วงวันสงกรานต์ ที่บริเวณวัดโพธิ์ชัย ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดหนองคาย มีการอัญเชิญหลวงพ่อพระใส และพระพุทธรูปสำคัญจากวัดต่าง ๆ เข้าขบวนแห่รอบเมืองเพื่อให้ประชาชนได้ สรงน้ำและนมัสการ และมีการออกร้านค้าจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองราคาถูก มีการแสดงมหรสพในตอนกลางคืน และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มาสรงน้ำ และทำบุญเสดาะเคราะห์ได้ที่วัด ส่วนสถานที่ที่ประชาชนจากต่างจังหวัดนิยมมาเที่ยวหนองคายในเทศกาลสรงกรานต์ ก็คือ " หาดจอมมณี " ในสมัยก่อนวันสงกรานต์ที่หนองคาย จะจัดให้มีการเล่น " สะบ้า " ขึ้นด้วย

บุญเดือนหก - เข้าพรรษา - บุญบั้งไฟ

ประเพณี ของชาวไทยโดยทั่วไปในภาคอีสาน ไม่มีข้อแตกต่างกันมากนักในแต่ละท้องถิ่น โดยทั่วไปจะมีความคล้ายคลึงกันใน " แก่น " ของความเชื่อที่ผูกพันจนแยกไม่ออกจากคำสอนของพุทธศาสนา ประเพณีหลายอย่างสืบเนื่องกันมานานนับพันปีเท่าที่มีการบันทึกไว้ เทศกาลต่างๆ จะอิงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา กลมกลืนและเป็นหนึ่งเดียว

บุญเข้าพรรษา - แห่เทียนและปราสาทผึ้ง

เป็น ประเพณีของที่นี่ทุกปี ในงานเทศกาลเข้าพรรษาจะมีขบวนแห่เทียนและปราสาทผึ้ง ตามความเชื่อแต่โบราณกาล แม้จะไม่ยิ่งใหญ่ตระการตาดั่งงานแห่เทียนเข้าพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี หรืองานแห่ปราสาทผึ้งของจังหวัดสกลนคร แต่ที่หนองคายก็มีประเพณีดังกล่าวนี้เช่นกัน



           บุญบั้งไฟ

      


ประเพณี บุญบ้องไฟของหนองคาย จะเริ่มต้นในเดือนหก ตามปฏิทินทางจันทรคติ มีขบวนแห่ประกวดการตกแต่งลวดลายและริ้วขบวน ของชาวบ้านคุ้มต่างๆ ในเขตเทศบาลและเขตใกล้เคียง และจุดหมายของขบวนแห่จะพากันมาบวงสรวงหลวงพ่อพระใส ที่วัดโพธิ์ชัยเป็นจุดสุดท้าย หลังจากนั้นในวันรุ่งขึ้น ก็จะมีการแข่งขันการจุดบ้องไฟขึ้นสู่ท้องฟ้า จากบรรดาผู้สมัครแข่งขันจากหลายจังหวัดในภาคอีสาน


        เทศกาลออกพรรษา

       


ตัก บาตรเทโว - ไหลเรือไฟ - แข่งเรือมิตรภาพลาว - ไทย จัดขึ้นในเทศกาลออกพรรษาของทุกปี โดยในช่วงเช้าประชาชนจะมาร่วมกันตักบาตรที่วัดโพธิ์ชัย ส่วนในช่างกลางวันจะมีการแข่งเรือยาวในลำน้ำโขงระหว่างคุ้มต่างๆ ทั้งในเขตอำเภอเมืองและอำเภออื่นด้วย นอกจากนี้ยังมีประเพณีแข่งเรือยาวระหว่างไทยและลาว โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ในตอนกลางคืนจะมีประเพณีลอยกระทงในแม่น้ำโขง

อาหารขึ้นชื่อจังหวัดหนองคาย

      

"แดง แหนมเนือง" ร้านเด็ดเมืองหนองคาย

ช่วง เทศกาลออกพรรษาใกล้มาถึงแล้ว และสถานที่ท่องเที่ยวที่คึกคักที่สุดก็น่าจะอยู่ที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งมีบั้งไฟพญานาค สิ่งมหัศจรรย์แห่งลุ่มน้ำโขง เป็นจุดดึงดูดให้ผู้คนจากทุกสารทิศมาชม "ผ่านมาแวะกิน" เองก็เคยได้ไปชมปรากฏการณ์นั้นมาแล้ว แต่สิ่งที่ติดใจกลับเป็นอาหารเด็ดขึ้นชื่อของเมืองหนองคาย นั่นก็คือแหนมเนืองนั่นเอง

และร้านที่ "ผ่านมาแวะกิน" ได้ไปลองชิมมานั้นก็คือร้าน "แดงแหนมเนือง" ซึ่งเปิดขายมานานกว่า 40 ปี แล้ว ด้วยความที่ผู้ก่อตั้งร้านเป็นชาวเวียดนาม อาหารของร้านนี้จึงเป็นสูตรเวียดนามแท้ๆ


         
     ปอเปี๊ยะทอด มาต่อกันที่ปอเปี๊ยะทอด (3 ชิ้น 30 บาท) เปาะเปี๊ยะทอดกรอบๆ ข้างในเป็นไส้หมูสับ ไข่ วุ้นเส้น และเห็ดหูหนูดำ ที่ปรุงรสคลุกเคล้ากัน แล้วนำมาห่อกับแผ่นแป้งทอดให้กรอบ กินคู่กับน้ำจิ้มปอเปี๊ยะ หรือใครไม่อยากกินของทอดก็สามารถเลือกปอเปี๊ยะสด (20 บาท) ซึ่งใช้แผ่นกะยอมาห่อกับไส้ที่มีหมูสับลวกปรุงรส ใส่เครื่องเทศ คลุกกับไข่ ใส่สะระแหน่ซอย ผักกาดหอม แล้วห่อม้วนหั่นมาเป็นคำๆ ทานคู่กับน้ำจิ้มไก่ที่ใส่ถั่วมาด้วย
นอกจากนั้นก็ยังมีเมนูน่ากินอื่นๆ อย่างแหนมซี่โครงหมูทอด (50 บาท) ขนมจีนทรงเครื่อง (25 บาท) กุ้งพันอ้อย (5 ชิ้น 180 บาท) และอีกหลากหลายเมนูให้ได้เลือกชิมกัน ถ้าใครผ่านมาก็อย่าลืมแวะมาที่ร้านแดงแหนมเนือง มาชิมอาหารเวียดนามรสเด็ดกัน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น