1.ข้อมูลทั่วไป
จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 17 องศา 35 ลิปดา ถึง 18 องศา 27 ลิปดา เหนือ และเส้นแวงที่ 102 องศา 3 ลิปดาถึง 104 องศา 4 ลิปดาตะวันออก ตัวจังหวัดอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ เป็นระยะทางประมาณ 616 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 4 กิ่งอำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นๆ (ภาพที่1)
ทิศเหนือ ติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดอุดรธานี และ จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดบึงกาฬ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดเลย และ จังหวัดอุดรธานี
2 ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดหนองคายตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะเป็นแนวยาวไปตามแม่น้ำโขงประมาณ 320 กิโลเมตร โดยมีความกว้างประมาณ 50-100 กิโลเมตร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นภูเขาสูงทางด้านตะวันตกลาดลงทางตะวันออก บริเวณตอนกลางเป็นที่ราบเรียบจนถึงเนินเขาและเป็นภูเขาทางด้านตะวันออกของพื้นที่ ซึ่งอาจแบ่งลักษณะสภาพภูมิประเทศและธรณีสัณฐาน ได้ดังนี้
1.พื้นที่ภูเขา (mountainous area) แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ด้านตะวันตกของจังหวัดในเขตอำเภอสังคม เป็นพื้นที่ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน ระดับความสูงของภูเขามีตั้งแต่ 200-492 เมตร ถึง 300-908 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
2.พื้นที่ที่มีการปรับระดับหรือพื้นที่ซึ่งเกิดจากการกร่อน (denudation or erosion plain) พบบริเวณตอนกลางของจังเหวัด มีลักษณะค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นตะกอนซึ่งเกิดจากการผุพังสะลายตัวของหิน
3.พื้นที่ตะกอนลำน้ำ (fluvial plain) เกิดจากพื้นที่ตะพักลำน้ำ ( terrace ) ที่เป็นตะกอนเก่า และพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง ( flood plain ) ที่เป็นตะกอนใหม่ ส่วนใหญ่พบบริเวณใกล้ทางน้ำ ได้แก่ แม่น้ำโขง แม่น้ำโมง ห้วยน้ำโสม แม่น้ำศรีสงคราม เป็นต้น
แผนที่จังหวัด
แผนที่และอาณาเขตติดต่อ ของจังหวัดหนองคาย
2. สภาพภูมิอากาศและฝนในพื้นที่จังหวัดหนองคาย
1 สภาพภูมิอากาศในพื้นที่จังหวัดหนองคาย
สภาพภูมิอากาศของจังหวัดหนองคาย แบ่งเป็น 3 ฤดู เช่นเดียวกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ฤดูฝน เดือนพฤษภาคมถึงกันยายน ฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์
อุณหภูมิ
อุณหภูมิของจังหวัดหนองคาย (ภาพที่ 2) เห็นได้ว่าช่วงต้นปีมีสภาพอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคม 23.44 ± 0.33 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดลดลงถึง 16.86 ± 0.35 องศาเซลเซียส จากนั้นอุณหภูมิเฉลี่ยเริ่มขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ ในเดือนกุมภาพันธ์ (25.41 ± 0.54 องศาเซลเซียส) ถึง เดือนเมษายน (30.15± 0.28 องศาเซลเซียส) ซึ่งเป็นช่วงกลางฤดูร้อน อุณหภูมิในตอนกลางวันร้อนจัดในเดือนมีนาคมและเมษายน โดยอุณหภูมิสูงสุด 34.41 ± 0.47 และ 35.93 ± 0.45 องศาเซลเซียส ตามลำดับ หลังจากนั้นอุณหภูมิลดลงเล็กน้อยเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน จากนั้นอุณหภูมิลดลงเรื่อยๆ จนเข้าสู่ฤดูหนาวในช่วงปลายปี อุณหภูมิจะลดต่ำในเดือนธันวาคม โดยมีอุณหภูมิต่ำสุด 16.88 ± 0.56 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิเฉลี่ย 23.03 ± 0.46 องศาเซลเซียส
กราฟแสดงอุณหภูมิในแต่ละเดือนประกอบด้วย อุณหภูมิสูงสุด (T max) อุณหภูมิเฉลี่ย (T mean) และอุณหภูมิต่ำสุด (T min) (ค่าเฉลี่ย 10 ปี 2542-2551, แหล่งข้อมูล: กรมอุตุนิยมวิทยา)
ความชื้นสัมพัทธ์
ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ (ภาพที่ 3) เริ่มสูงขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม (79.04 ± 1.39 เปอร์เซ็นต์) โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในเดือนสิงหาคม (85.14 ± 0.38 เปอร์เซ็นต์) จนถึงเดือนกันยายน จากนั้นปริมาณความชื้นสัมพัทธ์จะค่อยๆลดลง เมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาวเรื่อยไปจนถึงฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนตุลาคม (76.52 ± 1.45 เปอร์เซ็นต์) ถึงเมษายน โดยเดือนมีนาคมมีค่าความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุด (65.81 ± 1.91 เปอร์เซ็นต์)
กราฟแสดงความชื้นสัมพัทธ์ในแต่ละเดือน (ค่าเฉลี่ย 10 ปี 2542-2551, แหล่งข้อมูล: กรมอุตุนิยมวิทยา)
ค่าศักย์การระเหยน้ำ
ค่าศักย์การคายระเหยน้ำ (ภาพที่ 4) ทิศทางตรงข้ามกับปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ มีค่าสูงขึ้นเมื่อเข้าฤดูร้อนเดือนกุมภาพันธ์ (111.27 ± 4.45 มิลลิเมตร) และมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (160.42 ± 4.34 มิลลิเมตร) ในเดือนเมษายน หลังจากนั้นค่าศักย์การคายระเหยน้ำจะลดต่ำลงในเดือนพฤษภาคม (137.25 ± 5.34 มิลลิเมตร) ลดลงต่ำสุดเดือนธันวาคม (106.77 ± 8.00 มิลลิเมตร)
กราฟแสดงค่าศักย์การคายระเหยน้ำในแต่ละเดือน (ค่าเฉลี่ย 10 ปี 2542-2551, แหล่งข้อมูล: กรมอุตุนิยมวิทยา)
ช่วงแสง
สภาพน้ำฝนในพื้นที่จังหวัดหนองคาย
ปริมาณน้ำฝน
จังหวัดหนองคายมีภูมิประเทศติดกับแม่น้ำโขงจึงมีปริมาณน้ำฝนตลอดปีปริมาณ 1778.05 มิลลิเมตร (ค่าเฉลี่ย 10 ปี 2542-2551) ดังแสดงในภาพที่ 5 โดยฝนเริ่มตกในเดือนเมษายน มีปริมาณ (114.84 ± 29.60801 มิลลิเมตร) และมีฝนตกชุกในฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม มีปริมาณ (259.79 ± 27.62 มิลลิเมตร) เรื่อยไปจนถึงเดือนกันยายน ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงสุด (324.37 ± 46.35 มิลลิเมตร) จากนั้นเดือนตุลาคมปริมาณน้ำฝนจะลดลงอย่างรวดเร็ว 108.06 ± 24.61 มิลลิเมตร
กราฟแสดงปริมาณน้ำฝนในแต่ละเดือน (ค่าเฉลี่ย 10 ปี 2542-2551, แหล่งข้อมูล: กรมอุตุนิยมวิทยา)
3.สภาพดินในพื้นที่จังหวัดหนองคาย
สภาพดินโดยทั่วไป
จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ประมาณ 4,582,675 ไร่ พบดินทั้งหมด 28 กลุ่มชุดดิน ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ดินที่เหมาะสมดีสำหรับปลูกข้าว มีเนื้อที่ประมาณ 311,001 ไร่หรือร้อยละ 6.78 ของเนื้อที่ทั้งหมด และที่มีข้อจำกัดบ้างเกี่ยวกับดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายและขาดแคลนน้ำได้ง่าย มีเนื้อที่ประมาณ 792,185 ไร่หรือร้อยละ 17.28 ของเนื้อที่ทั้งหมด ส่วนดินที่เหมาะสมดีสำหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ประมาณ 113,785 ไร่หรือร้อยละ 2.48ของเนื้อที่ทั้งหมด และที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย มีเนื้อที่ประมาณ 839,504 หรือร้อยละ
แผนที่กลุ่มชุดดิน
กลุ่มชุดดินที่พบในพื้นที่จังหวัดหนองคาย (ภาพที่ 6) กลุ่มชุดดินที่พบมากที่สุดในจังหวัดหนองคาย คือ กลุ่มชุดดินที่ 49 มีเนื้อที่ประมาณ 1,387,647 ไร่ หรือ 30.28 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่จังหวัด กลุ่มชุดดินที่ 49 ค่อนข้างไม่เหมาะสมถึงไม่เหมาะสมในการปลูกพืชโดยทั่วไป เนื่องจากเป็นดินตื้นถึงตื้นมาก ถ้าจะใช้ปลูกพืชไร่ต้องมีหน้าดินบนหนาไม่ต่ำกว่า 15 ซม.และจะต้องเลือกพืชรากตื้นมากปลูก กลุ่มชุดดินที่พบรองลงมาคือ กลุ่มชุดดินที่ 40 มีเนื้อที่ประมาณ 640,525 ไร่ หรือ 13.98เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่จังหวัด กลุ่มชุดดินที่ 40 มีความเหมาะสมในการปลูกพืชไร และไม้ผลค่อนข้างไม่เหมาะสมที่จะนํามาปลูกพืชผัก และไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการทํานา เนื่องจากเนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายและสภาพพื้นที่ไม่อํานวย แต่สามารถใช้ประโยชน์ในการปลูกไม้โตเร็วและปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ได้ดี
แผนที่กลุ่มชุดดินจังหวัดหนองคาย
ลักษณะและสมบัติของดินที่สำคัญต่อการเกษตร
ลักษณะและสมบัติของดินที่สำคัญต่อการเกษตร แสดงไว้ใน
การจำแนกความเหมาะสมและข้อจำกัดของดินสำหรับปลูกพืช
ความเหมาะสมและข้อจำกัดของดินสำหรับการปลูกพืชจำแนก โดยใช้หลักเกณฑ์ของกรมพัฒนาที่ดิน จากเอกสารวิชาการฉบับที่ 453 (กองสำรวจและจำแนกดิน) สรุปได้ดังนี้
1. ดินที่มีความเหมาะสมดีสำหรับปลูกข้าว มีเนื้อที่ประมาณ 311,001 ไร่ หรือร้อยละ 6.78 ของเนื้อที่ทั้งหมด
2. ดินที่มีความเหมาะสมดีสำหรับปลูกข้าว แต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ เนื้อดินแน่นทึบหรือค่อนข้างเป็นทราย และอาจขาดแคลนน้ำเมื่อฝนทิ้งช่วง มีเนื้อที่ประมาณ 792,185 ไร่ หรือร้อยละ 17.28 ของเนื้อที่ทั้งหมด
3. ดินที่ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูกข้าว เนื่องจากสภาพพื้นที่มีความลาดชัน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และเนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย มีเนื้อที่ประมาณ 704,956 ไร่ หรือร้อยละ 15.38 ของเนื้อที่ทั้งหมด
4. ดินที่มีความเหมาะสมดีสำหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ประมาณ 113,785 ไร่ หรือร้อยละ 2.48 ของเนื้อที่ทั้งหมด
5. ดินที่มีความเหมาะสมดีสำหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น แต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ เนื้อดินไม่เหมาะสม มีเนื้อที่ประมาณ839,504 ไร่ หรือร้อยละ 18.32 ของเนื้อที่ทั้งหมด
- เนื้อดินเป็นดินเหนียว เมื่อขาดน้ำดินจะแห้งแตกระแหงง่าย มีเนื้อที่ประมาณ 57,136 ไร่ หรือร้อยละ 1.24 ของเนื้อที่ทั้งหมด
- เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีเนื้อที่ประมาณ 782,492 ไร่ หรือร้อยละ 17.08 ของเนื้อที่ทั้งหมด
6. ดินที่ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ เนื่องจากสภาพพื้นที่มีความลาดชัน กักเก็บน้ำไม่อยู่ เนื้อดินไม่เหมาะสม มีเนื้อที่ประมาณ 934,541 ไร่ หรือร้อยละ20.39 ของเนื้อที่ทั้งหมด
- เป็นดินลึก มีก้อนหิน เศษหิน และก้อนกรวดปะปน มีเนื้อที่ประมาณ 18,442 ไร่ หรือร้อยละ 0.40 ของเนื้อที่ทั้งหมด
- เป็นดินตื้น มีก้อนหิน เศษหิน และก้อนกรวดปะปนมาก มีเนื้อที่ประมาณ 916,099 ไร่ หรือร้อยละ 19.99 ของเนื้อที่ทั้งหมด
7. ดินที่ไม่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร เนื่องจากเป็นพื้นที่มีหินพื้นโผล่ปะปน มีก้อนหิน เศษหิน ปะปนมาก และมีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ประมาณ 348,123 ไร่ หรือร้อยละ 7.60 ของเนื้อที่ทั้งหมด
- พื้นที่มีหินพื้นโผล่มีก้อนกรวด เศษหินปะปน มีเนื้อที่ประมาณ 5,006 ไร่ หรือร้อยละ 0.11 ของเนื้อที่ทั้งหมด
- พื้นที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ประมาณ 343,117 ไร่ หรือร้อยละ 7.49 ของเนื้อที่ทั้งหมด
ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินและแนวทางการแก้ไข
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จะให้ผลผลิตของพืชต่ำ เนื่องมาจากการมีอินทรียวัตถุ ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสและโพแทสเซี่ยม การอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่าง และความสามารถในการแลกประจุบวกต่ำ ทั้งนี้เป็นเพราะทรัพยากรดินในเขตจังหวัดเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดที่เป็นหินทราย หรือจากการทำเกษตรกรรมติดต่อมาเป็นเวลานาน
แนวทางการแก้ไข ควรมีการใส่ธาตุอาหารพืชให้แก่ดิน โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีในอัตราส่วนที่พอเหมาะแก่พืชแต่ละชนิดในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม เช่น ข้าวควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหลังหว่าน เพื่อให้ต้นอ่อนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วหรือใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสช่วงข้าวตั้งท้อง
ดินที่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว เป็นดินในที่ลุ่มถึงค่อนข้างลุ่ม ที่มีน้ำแช่ขังปีละ 3-5 เดือน ทั้งนี้อาจเกิดจากน้ำฝนหรือน้ำชลประทาน โดยเนื้อดินมักเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียวในดินล่าง ซึ่งเหมาะสำหรับการปลูกข้าว
แนวทางการแก้ไข หากพบดินที่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลวบนที่สูง ควรยกร่องสำหรับปลูกไม้ผล หรือฝังท่อระบายน้ำทิ้งสำหรับการปลูกพืชไร่
ดินทราย ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทราย หรือเป็นดินทรายปนดินร่วนที่มีความหนามากกว่า 50 ซ.ม จากผิวดิน จะทำให้ดินอุ้มน้ำได้น้อย ดินขาดแคลนน้ำบ่อยๆ การดูดซับธาตุอาหารต่ำ การชะล้างสูญเสียหน้าดินเกิดได้ง่าย และเกิดร่องลึกในทางน้ำผ่าน
แนวทางการแก้ไข ควรปลูกพืชหมุนเวียนตลอดปีเพื่อรักษาหน้าดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรปลูกพืชปุ๋ยสด (ถั่วพร้าอัตรา 10-12ก.ก/ไร่หรือถั่วพุ่ม 8-10 ก.ก/ไร่หรือปอเทือง 6-8 ก.ก/ไร่) แล้วไถกลบระยะออกดอกจะทำให้คุณภาพของดินด้านกายภาพดีขึ้น
ดินตื้น ดินที่มีชิ้นส่วนขนาดโตมากกว่า 2 ม.ม ปริมาณมากกว่า 35 % โดยปริมาตร และอาจพบชั้นหินพื้นหรือชั้นมาร์ลภายในความลึก 50 ซม. จากผิวดิน ทำให้ดินมีชิ้นส่วนที่ละเอียดหรือเนื้อดินละเอียดน้อย จึงทำให้ความสามารถในการดูดซับน้ำและธาตุอาหารต่ำ เกิดการสูญเสียธาตุอาหารพืชที่เป็นประโยชน์ได้ง่ายก่อนที่พืชจะนำไปใช้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตและการชอนไชของรากพืชลงไปหาธาตุอาหารและน้ำ การค้ำยันและการทรงตัวของต้นพืชไม่ดีและล้มง่าย พื้นที่ที่เป็นดินตื้นมากหรือมีก้อนกรวด เศษหิน หรือลูกรัง อยู่บนผิวดินมากๆจะเป็นอุปสรรคต่อการไถพรวน รวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและขาดแคลนน้ำได้ง่าย
แนวทางการแก้ไข ปลูกพืชรากสั้น เช่น พืชไร่ หรือพืชผัก หรือขุดหลุม กว้างxยาวxลึก เท่ากับ 75x75x75 ซ.ม แล้วนำดินอื่นที่เหมาะสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก อัตรา 15-25 ก.ก/หลุมมาใส่เพื่อปลูกไม้ผล บางแห่งที่ตื้นมาก หรือมีเศษหินลอยหน้ามากไม่ควรใช้พื้นที่นั้น จึงเหมาะสำหรับเป็นป่าธรรมชาติเท่านั้น
ดินที่มีการชะล้างพังทลาย เป็นดินที่เกิดในพื้นที่ที่มีความลาดชันและมีการสูญเสียหน้าดิน มักเป็นดินเนื้อหยาบหรือดินตื้น จึงควรอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ ควรได้มีการทำแนวป้องกันการชะล้างพังทลาย โดยการปลูกหญ้าแฝกขวางตามแนวลาดเทหรือทำขั้นบันไดดินจังหวัดหนองคาย
จังหวัดหนองคายตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะเป็นแนวยาวไปตามแม่น้ำโขงประมาณ 320 กิโลเมตร โดยมีความกว้างประมาณ 50-100 กิโลเมตร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นภูเขาสูงทางด้านตะวันตกลาดลงทางตะวันออก บริเวณตอนกลางเป็นที่ราบเรียบจนถึงเนินเขาและเป็นภูเขาทางด้านตะวันออกของพื้นที่ ซึ่งอาจแบ่งลักษณะสภาพภูมิประเทศและธรณีสัณฐาน ได้ดังนี้
1.พื้นที่ภูเขา (mountainous area) แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ด้านตะวันตกของจังหวัดในเขตอำเภอสังคม เป็นพื้นที่ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน ระดับความสูงของภูเขามีตั้งแต่ 200-492 เมตร ถึง 300-908 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
2.พื้นที่ที่มีการปรับระดับหรือพื้นที่ซึ่งเกิดจากการกร่อน (denudation or erosion plain) พบบริเวณตอนกลางของจังเหวัด มีลักษณะค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นตะกอนซึ่งเกิดจากการผุพังสะลายตัวของหิน
3.พื้นที่ตะกอนลำน้ำ (fluvial plain) เกิดจากพื้นที่ตะพักลำน้ำ ( terrace ) ที่เป็นตะกอนเก่า และพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง ( flood plain ) ที่เป็นตะกอนใหม่ ส่วนใหญ่พบบริเวณใกล้ทางน้ำ ได้แก่ แม่น้ำโขง แม่น้ำโมง ห้วยน้ำโสม แม่น้ำศรีสงคราม เป็นต้น
แผนที่จังหวัด
แผนที่และอาณาเขตติดต่อ ของจังหวัดหนองคาย
2. สภาพภูมิอากาศและฝนในพื้นที่จังหวัดหนองคาย
1 สภาพภูมิอากาศในพื้นที่จังหวัดหนองคาย
สภาพภูมิอากาศของจังหวัดหนองคาย แบ่งเป็น 3 ฤดู เช่นเดียวกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ฤดูฝน เดือนพฤษภาคมถึงกันยายน ฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์
อุณหภูมิ
อุณหภูมิของจังหวัดหนองคาย (ภาพที่ 2) เห็นได้ว่าช่วงต้นปีมีสภาพอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคม 23.44 ± 0.33 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดลดลงถึง 16.86 ± 0.35 องศาเซลเซียส จากนั้นอุณหภูมิเฉลี่ยเริ่มขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ ในเดือนกุมภาพันธ์ (25.41 ± 0.54 องศาเซลเซียส) ถึง เดือนเมษายน (30.15± 0.28 องศาเซลเซียส) ซึ่งเป็นช่วงกลางฤดูร้อน อุณหภูมิในตอนกลางวันร้อนจัดในเดือนมีนาคมและเมษายน โดยอุณหภูมิสูงสุด 34.41 ± 0.47 และ 35.93 ± 0.45 องศาเซลเซียส ตามลำดับ หลังจากนั้นอุณหภูมิลดลงเล็กน้อยเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน จากนั้นอุณหภูมิลดลงเรื่อยๆ จนเข้าสู่ฤดูหนาวในช่วงปลายปี อุณหภูมิจะลดต่ำในเดือนธันวาคม โดยมีอุณหภูมิต่ำสุด 16.88 ± 0.56 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิเฉลี่ย 23.03 ± 0.46 องศาเซลเซียส
กราฟแสดงอุณหภูมิในแต่ละเดือนประกอบด้วย อุณหภูมิสูงสุด (T max) อุณหภูมิเฉลี่ย (T mean) และอุณหภูมิต่ำสุด (T min) (ค่าเฉลี่ย 10 ปี 2542-2551, แหล่งข้อมูล: กรมอุตุนิยมวิทยา)
ความชื้นสัมพัทธ์
ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ (ภาพที่ 3) เริ่มสูงขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม (79.04 ± 1.39 เปอร์เซ็นต์) โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในเดือนสิงหาคม (85.14 ± 0.38 เปอร์เซ็นต์) จนถึงเดือนกันยายน จากนั้นปริมาณความชื้นสัมพัทธ์จะค่อยๆลดลง เมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาวเรื่อยไปจนถึงฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนตุลาคม (76.52 ± 1.45 เปอร์เซ็นต์) ถึงเมษายน โดยเดือนมีนาคมมีค่าความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุด (65.81 ± 1.91 เปอร์เซ็นต์)
กราฟแสดงความชื้นสัมพัทธ์ในแต่ละเดือน (ค่าเฉลี่ย 10 ปี 2542-2551, แหล่งข้อมูล: กรมอุตุนิยมวิทยา)
ค่าศักย์การระเหยน้ำ
ค่าศักย์การคายระเหยน้ำ (ภาพที่ 4) ทิศทางตรงข้ามกับปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ มีค่าสูงขึ้นเมื่อเข้าฤดูร้อนเดือนกุมภาพันธ์ (111.27 ± 4.45 มิลลิเมตร) และมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (160.42 ± 4.34 มิลลิเมตร) ในเดือนเมษายน หลังจากนั้นค่าศักย์การคายระเหยน้ำจะลดต่ำลงในเดือนพฤษภาคม (137.25 ± 5.34 มิลลิเมตร) ลดลงต่ำสุดเดือนธันวาคม (106.77 ± 8.00 มิลลิเมตร)
กราฟแสดงค่าศักย์การคายระเหยน้ำในแต่ละเดือน (ค่าเฉลี่ย 10 ปี 2542-2551, แหล่งข้อมูล: กรมอุตุนิยมวิทยา)
ช่วงแสง
สภาพน้ำฝนในพื้นที่จังหวัดหนองคาย
ปริมาณน้ำฝน
จังหวัดหนองคายมีภูมิประเทศติดกับแม่น้ำโขงจึงมีปริมาณน้ำฝนตลอดปีปริมาณ 1778.05 มิลลิเมตร (ค่าเฉลี่ย 10 ปี 2542-2551) ดังแสดงในภาพที่ 5 โดยฝนเริ่มตกในเดือนเมษายน มีปริมาณ (114.84 ± 29.60801 มิลลิเมตร) และมีฝนตกชุกในฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม มีปริมาณ (259.79 ± 27.62 มิลลิเมตร) เรื่อยไปจนถึงเดือนกันยายน ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงสุด (324.37 ± 46.35 มิลลิเมตร) จากนั้นเดือนตุลาคมปริมาณน้ำฝนจะลดลงอย่างรวดเร็ว 108.06 ± 24.61 มิลลิเมตร
กราฟแสดงปริมาณน้ำฝนในแต่ละเดือน (ค่าเฉลี่ย 10 ปี 2542-2551, แหล่งข้อมูล: กรมอุตุนิยมวิทยา)
3.สภาพดินในพื้นที่จังหวัดหนองคาย
สภาพดินโดยทั่วไป
จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ประมาณ 4,582,675 ไร่ พบดินทั้งหมด 28 กลุ่มชุดดิน ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ดินที่เหมาะสมดีสำหรับปลูกข้าว มีเนื้อที่ประมาณ 311,001 ไร่หรือร้อยละ 6.78 ของเนื้อที่ทั้งหมด และที่มีข้อจำกัดบ้างเกี่ยวกับดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายและขาดแคลนน้ำได้ง่าย มีเนื้อที่ประมาณ 792,185 ไร่หรือร้อยละ 17.28 ของเนื้อที่ทั้งหมด ส่วนดินที่เหมาะสมดีสำหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ประมาณ 113,785 ไร่หรือร้อยละ 2.48ของเนื้อที่ทั้งหมด และที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย มีเนื้อที่ประมาณ 839,504 หรือร้อยละ
แผนที่กลุ่มชุดดิน
กลุ่มชุดดินที่พบในพื้นที่จังหวัดหนองคาย (ภาพที่ 6) กลุ่มชุดดินที่พบมากที่สุดในจังหวัดหนองคาย คือ กลุ่มชุดดินที่ 49 มีเนื้อที่ประมาณ 1,387,647 ไร่ หรือ 30.28 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่จังหวัด กลุ่มชุดดินที่ 49 ค่อนข้างไม่เหมาะสมถึงไม่เหมาะสมในการปลูกพืชโดยทั่วไป เนื่องจากเป็นดินตื้นถึงตื้นมาก ถ้าจะใช้ปลูกพืชไร่ต้องมีหน้าดินบนหนาไม่ต่ำกว่า 15 ซม.และจะต้องเลือกพืชรากตื้นมากปลูก กลุ่มชุดดินที่พบรองลงมาคือ กลุ่มชุดดินที่ 40 มีเนื้อที่ประมาณ 640,525 ไร่ หรือ 13.98เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่จังหวัด กลุ่มชุดดินที่ 40 มีความเหมาะสมในการปลูกพืชไร และไม้ผลค่อนข้างไม่เหมาะสมที่จะนํามาปลูกพืชผัก และไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการทํานา เนื่องจากเนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายและสภาพพื้นที่ไม่อํานวย แต่สามารถใช้ประโยชน์ในการปลูกไม้โตเร็วและปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ได้ดี
แผนที่กลุ่มชุดดินจังหวัดหนองคาย
ลักษณะและสมบัติของดินที่สำคัญต่อการเกษตร
ลักษณะและสมบัติของดินที่สำคัญต่อการเกษตร แสดงไว้ใน
การจำแนกความเหมาะสมและข้อจำกัดของดินสำหรับปลูกพืช
ความเหมาะสมและข้อจำกัดของดินสำหรับการปลูกพืชจำแนก โดยใช้หลักเกณฑ์ของกรมพัฒนาที่ดิน จากเอกสารวิชาการฉบับที่ 453 (กองสำรวจและจำแนกดิน) สรุปได้ดังนี้
1. ดินที่มีความเหมาะสมดีสำหรับปลูกข้าว มีเนื้อที่ประมาณ 311,001 ไร่ หรือร้อยละ 6.78 ของเนื้อที่ทั้งหมด
2. ดินที่มีความเหมาะสมดีสำหรับปลูกข้าว แต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ เนื้อดินแน่นทึบหรือค่อนข้างเป็นทราย และอาจขาดแคลนน้ำเมื่อฝนทิ้งช่วง มีเนื้อที่ประมาณ 792,185 ไร่ หรือร้อยละ 17.28 ของเนื้อที่ทั้งหมด
3. ดินที่ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูกข้าว เนื่องจากสภาพพื้นที่มีความลาดชัน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และเนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย มีเนื้อที่ประมาณ 704,956 ไร่ หรือร้อยละ 15.38 ของเนื้อที่ทั้งหมด
4. ดินที่มีความเหมาะสมดีสำหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ประมาณ 113,785 ไร่ หรือร้อยละ 2.48 ของเนื้อที่ทั้งหมด
5. ดินที่มีความเหมาะสมดีสำหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น แต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ เนื้อดินไม่เหมาะสม มีเนื้อที่ประมาณ839,504 ไร่ หรือร้อยละ 18.32 ของเนื้อที่ทั้งหมด
- เนื้อดินเป็นดินเหนียว เมื่อขาดน้ำดินจะแห้งแตกระแหงง่าย มีเนื้อที่ประมาณ 57,136 ไร่ หรือร้อยละ 1.24 ของเนื้อที่ทั้งหมด
- เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีเนื้อที่ประมาณ 782,492 ไร่ หรือร้อยละ 17.08 ของเนื้อที่ทั้งหมด
6. ดินที่ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ เนื่องจากสภาพพื้นที่มีความลาดชัน กักเก็บน้ำไม่อยู่ เนื้อดินไม่เหมาะสม มีเนื้อที่ประมาณ 934,541 ไร่ หรือร้อยละ20.39 ของเนื้อที่ทั้งหมด
- เป็นดินลึก มีก้อนหิน เศษหิน และก้อนกรวดปะปน มีเนื้อที่ประมาณ 18,442 ไร่ หรือร้อยละ 0.40 ของเนื้อที่ทั้งหมด
- เป็นดินตื้น มีก้อนหิน เศษหิน และก้อนกรวดปะปนมาก มีเนื้อที่ประมาณ 916,099 ไร่ หรือร้อยละ 19.99 ของเนื้อที่ทั้งหมด
7. ดินที่ไม่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร เนื่องจากเป็นพื้นที่มีหินพื้นโผล่ปะปน มีก้อนหิน เศษหิน ปะปนมาก และมีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ประมาณ 348,123 ไร่ หรือร้อยละ 7.60 ของเนื้อที่ทั้งหมด
- พื้นที่มีหินพื้นโผล่มีก้อนกรวด เศษหินปะปน มีเนื้อที่ประมาณ 5,006 ไร่ หรือร้อยละ 0.11 ของเนื้อที่ทั้งหมด
- พื้นที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ประมาณ 343,117 ไร่ หรือร้อยละ 7.49 ของเนื้อที่ทั้งหมด
ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินและแนวทางการแก้ไข
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จะให้ผลผลิตของพืชต่ำ เนื่องมาจากการมีอินทรียวัตถุ ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสและโพแทสเซี่ยม การอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่าง และความสามารถในการแลกประจุบวกต่ำ ทั้งนี้เป็นเพราะทรัพยากรดินในเขตจังหวัดเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดที่เป็นหินทราย หรือจากการทำเกษตรกรรมติดต่อมาเป็นเวลานาน
แนวทางการแก้ไข ควรมีการใส่ธาตุอาหารพืชให้แก่ดิน โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีในอัตราส่วนที่พอเหมาะแก่พืชแต่ละชนิดในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม เช่น ข้าวควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหลังหว่าน เพื่อให้ต้นอ่อนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วหรือใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสช่วงข้าวตั้งท้อง
ดินที่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว เป็นดินในที่ลุ่มถึงค่อนข้างลุ่ม ที่มีน้ำแช่ขังปีละ 3-5 เดือน ทั้งนี้อาจเกิดจากน้ำฝนหรือน้ำชลประทาน โดยเนื้อดินมักเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียวในดินล่าง ซึ่งเหมาะสำหรับการปลูกข้าว
แนวทางการแก้ไข หากพบดินที่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลวบนที่สูง ควรยกร่องสำหรับปลูกไม้ผล หรือฝังท่อระบายน้ำทิ้งสำหรับการปลูกพืชไร่
ดินทราย ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทราย หรือเป็นดินทรายปนดินร่วนที่มีความหนามากกว่า 50 ซ.ม จากผิวดิน จะทำให้ดินอุ้มน้ำได้น้อย ดินขาดแคลนน้ำบ่อยๆ การดูดซับธาตุอาหารต่ำ การชะล้างสูญเสียหน้าดินเกิดได้ง่าย และเกิดร่องลึกในทางน้ำผ่าน
แนวทางการแก้ไข ควรปลูกพืชหมุนเวียนตลอดปีเพื่อรักษาหน้าดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรปลูกพืชปุ๋ยสด (ถั่วพร้าอัตรา 10-12ก.ก/ไร่หรือถั่วพุ่ม 8-10 ก.ก/ไร่หรือปอเทือง 6-8 ก.ก/ไร่) แล้วไถกลบระยะออกดอกจะทำให้คุณภาพของดินด้านกายภาพดีขึ้น
ดินตื้น ดินที่มีชิ้นส่วนขนาดโตมากกว่า 2 ม.ม ปริมาณมากกว่า 35 % โดยปริมาตร และอาจพบชั้นหินพื้นหรือชั้นมาร์ลภายในความลึก 50 ซม. จากผิวดิน ทำให้ดินมีชิ้นส่วนที่ละเอียดหรือเนื้อดินละเอียดน้อย จึงทำให้ความสามารถในการดูดซับน้ำและธาตุอาหารต่ำ เกิดการสูญเสียธาตุอาหารพืชที่เป็นประโยชน์ได้ง่ายก่อนที่พืชจะนำไปใช้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตและการชอนไชของรากพืชลงไปหาธาตุอาหารและน้ำ การค้ำยันและการทรงตัวของต้นพืชไม่ดีและล้มง่าย พื้นที่ที่เป็นดินตื้นมากหรือมีก้อนกรวด เศษหิน หรือลูกรัง อยู่บนผิวดินมากๆจะเป็นอุปสรรคต่อการไถพรวน รวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและขาดแคลนน้ำได้ง่าย
แนวทางการแก้ไข ปลูกพืชรากสั้น เช่น พืชไร่ หรือพืชผัก หรือขุดหลุม กว้างxยาวxลึก เท่ากับ 75x75x75 ซ.ม แล้วนำดินอื่นที่เหมาะสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก อัตรา 15-25 ก.ก/หลุมมาใส่เพื่อปลูกไม้ผล บางแห่งที่ตื้นมาก หรือมีเศษหินลอยหน้ามากไม่ควรใช้พื้นที่นั้น จึงเหมาะสำหรับเป็นป่าธรรมชาติเท่านั้น
ดินที่มีการชะล้างพังทลาย เป็นดินที่เกิดในพื้นที่ที่มีความลาดชันและมีการสูญเสียหน้าดิน มักเป็นดินเนื้อหยาบหรือดินตื้น จึงควรอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ ควรได้มีการทำแนวป้องกันการชะล้างพังทลาย โดยการปลูกหญ้าแฝกขวางตามแนวลาดเทหรือทำขั้นบันไดดินจังหวัดหนองคาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น